ประวัติความเป็นมา
ความเป็นมาของพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ. 2553
1.ช่วงยกร่าง พระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาราจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 84 (8) "กำหนดให้รัฐต้องดำเนินการคุ้มครองและรักษาประโยชน์ของเกษตรกรในการผลิต การแปรรูปและการตลาด ส่งเสริมให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนสูงสุด รวมทั้งส่งเสริมการรวมกลุ่มของเกษตรกรในรูปของสภาเกษตรกร เพื่อวางแผนเกษตรกรรม และรักษาผลประโยชน์ร่วมของเกษตรกร"
รัฐบาลโดย นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้พิจารณาเห็นว่า การที่จะทำให้เกษตรกรเข้มแข็ง ต้องสนับสนุนและให้สิทธิแก่เกษตรกร เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและจัดทำแผนพัฒนาตัวเองอย่างแท้จริง จึงได้แต่งตั้ง นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานคณะทำงานยกร่าง พระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ. 2553 ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กระบวนการยกร่างพระราชบัญญัติประธานคณะทำงานได้สนับสนุนการมีส่วนร่วมของเกษตรกรครอบคลุม ทั้ง 4 ภูมิภาค นับว่าเป็นการยกร่างกฎหมายฉบับแรกที่ผ่านการมีส่วนร่วมของเกษตรกรอย่างกว้างขวาง
2.ช่วงเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นร่างพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ
หลังจากคณะทำงานยกร่าง พระราชบัญญัติเสร็จสิ้น เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง โดย นายสมัครสุนทรเวช พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้ นายสมชาย วงสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี และนายธีระ วงศ์สมุทร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทราวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้มอบให้ นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานคณะทำงาน ดำเนินการให้มีการเปิดเวที สร้างความเข้าใจและรับฟังความคิดเห็น ร่างพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ. 2553 ทั้ง 4 ภาค ครอบคลุมเกษตรกรทุกกลุ่มอาชีพ เพื่อนำความเห็นมาปรับปรุงร่างให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
พระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ. 2553 เป็นพระราชบัญญัติฉบับที่เปิดโอกาสให้เกษตรกรผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมในการร่วมคิด ร่วมกันปรับปรุงแก้ไข ร่วมกันผลักดันมากที่สุดฉบับหนึ่งจนเป็นร่างพระราชบัญญัติที่มีความสมบูรณ์พร้อมที่จะเสนอสู่การพิจารณาของรัฐสภา
3.ช่วงผลักดันพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติสู่การพิจารณาของรัฐสภา
เกิดการเปลี่ยนแปลงมางด้านการเมืองอีกครั้งเมื่อ นายสมชาย วงสวัสดิ์ ได้พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำพรรคฝ่ายค้าน ได้มีโอกาสจัดตั้งรัฐบาล และได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นายธีระ วงศ์สมุทร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ ฉบับดังกล่างถือเป็นร่างของรัฐบาล เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา ขณะเดียวกันก็มีร่างพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติของพรรคการเมืองต่างๆ เสนอเข้ารัฐสภาด้วยเช่นกัน ในระหว่างนี้ได้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองจนเกษตกร และผู้นำองค์กรเกษตรกรหลายคนหวั่นเกรงว่าจะมีการยุบสภาผู้แทนราชฎรเหมือนทุกครั้งที่มีการนำเสนอพระราชบัญญัติสภาเกษตรกร ในที่สุดความหวังของเกษตรกรที่ที่รอคอยและร่วมกันผลักดันมากกว่า 30 ปี ก็เป็นจริง
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่าโดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยสภาเกษตรกรแห่งชาติ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภาให้ไว้ ณ วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ วันที่ 19 พฤศจิกายน 2553
รัฐบาลโดย นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้พิจารณาเห็นว่า การที่จะทำให้เกษตรกรเข้มแข็ง ต้องสนับสนุนและให้สิทธิแก่เกษตรกร เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและจัดทำแผนพัฒนาตัวเองอย่างแท้จริง จึงได้แต่งตั้ง นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานคณะทำงานยกร่าง พระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ. 2553 ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กระบวนการยกร่างพระราชบัญญัติประธานคณะทำงานได้สนับสนุนการมีส่วนร่วมของเกษตรกรครอบคลุม ทั้ง 4 ภูมิภาค นับว่าเป็นการยกร่างกฎหมายฉบับแรกที่ผ่านการมีส่วนร่วมของเกษตรกรอย่างกว้างขวาง
2.ช่วงเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นร่างพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ
หลังจากคณะทำงานยกร่าง พระราชบัญญัติเสร็จสิ้น เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง โดย นายสมัครสุนทรเวช พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้ นายสมชาย วงสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี และนายธีระ วงศ์สมุทร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทราวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้มอบให้ นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานคณะทำงาน ดำเนินการให้มีการเปิดเวที สร้างความเข้าใจและรับฟังความคิดเห็น ร่างพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ. 2553 ทั้ง 4 ภาค ครอบคลุมเกษตรกรทุกกลุ่มอาชีพ เพื่อนำความเห็นมาปรับปรุงร่างให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
พระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ. 2553 เป็นพระราชบัญญัติฉบับที่เปิดโอกาสให้เกษตรกรผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมในการร่วมคิด ร่วมกันปรับปรุงแก้ไข ร่วมกันผลักดันมากที่สุดฉบับหนึ่งจนเป็นร่างพระราชบัญญัติที่มีความสมบูรณ์พร้อมที่จะเสนอสู่การพิจารณาของรัฐสภา
3.ช่วงผลักดันพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติสู่การพิจารณาของรัฐสภา
เกิดการเปลี่ยนแปลงมางด้านการเมืองอีกครั้งเมื่อ นายสมชาย วงสวัสดิ์ ได้พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำพรรคฝ่ายค้าน ได้มีโอกาสจัดตั้งรัฐบาล และได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นายธีระ วงศ์สมุทร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ ฉบับดังกล่างถือเป็นร่างของรัฐบาล เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา ขณะเดียวกันก็มีร่างพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติของพรรคการเมืองต่างๆ เสนอเข้ารัฐสภาด้วยเช่นกัน ในระหว่างนี้ได้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองจนเกษตกร และผู้นำองค์กรเกษตรกรหลายคนหวั่นเกรงว่าจะมีการยุบสภาผู้แทนราชฎรเหมือนทุกครั้งที่มีการนำเสนอพระราชบัญญัติสภาเกษตรกร ในที่สุดความหวังของเกษตรกรที่ที่รอคอยและร่วมกันผลักดันมากกว่า 30 ปี ก็เป็นจริง
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่าโดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยสภาเกษตรกรแห่งชาติ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภาให้ไว้ ณ วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ วันที่ 19 พฤศจิกายน 2553
ตราสัญลักษณ์
ความหมาย
พระพิรุณทรงนาคเป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นเกษตรกรรมบนผืนแผ่นดินไทย คชสีห์ราชห์ เป็นสัญลักษณ์แห่งความสามัคคีที่ปกป้องคุ้มครองชาติไทย สภาเกษตรกรแห่งชาติมีบทบาทในการปกป้องคุ้มครองเกษตรกรรมของไทย จึงนำสัญลักษณ์ทั้งสองมาร่วมกันสื่อความหมายภายในวงกลมด้วยสีเขียวและทอง
สี
สีทอง หมายถึง ความเจริญ รุ่งเรือง ความมีอำนาจ กำหนดใช้สีในสัญลักษณ์เพื่อสื่อถึงการก่อตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติให้มีอำนาจหน้าที่สร้างความเข้มแข็ง มั่นคง ยั่งยืนให้กับเกษตรกรในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม
สีเขียว หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ ความสุข กำหนดใช้สีในสัญลักษณ์เพื่อสื่อถึงบทบาทหน้าที่ของสภาเกษตรกรแห่งชาติในการส่งเสริมการรวมกลุ่ม ให้การร่วมมือกัน เสริมสร้างความอุดมสมบูรณ์ ความสุข ของเกษตรกร
พระพิรุณทรงนาคเป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นเกษตรกรรมบนผืนแผ่นดินไทย คชสีห์ราชห์ เป็นสัญลักษณ์แห่งความสามัคคีที่ปกป้องคุ้มครองชาติไทย สภาเกษตรกรแห่งชาติมีบทบาทในการปกป้องคุ้มครองเกษตรกรรมของไทย จึงนำสัญลักษณ์ทั้งสองมาร่วมกันสื่อความหมายภายในวงกลมด้วยสีเขียวและทอง
สี
สีทอง หมายถึง ความเจริญ รุ่งเรือง ความมีอำนาจ กำหนดใช้สีในสัญลักษณ์เพื่อสื่อถึงการก่อตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติให้มีอำนาจหน้าที่สร้างความเข้มแข็ง มั่นคง ยั่งยืนให้กับเกษตรกรในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม
สีเขียว หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ ความสุข กำหนดใช้สีในสัญลักษณ์เพื่อสื่อถึงบทบาทหน้าที่ของสภาเกษตรกรแห่งชาติในการส่งเสริมการรวมกลุ่ม ให้การร่วมมือกัน เสริมสร้างความอุดมสมบูรณ์ ความสุข ของเกษตรกร
โดยสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่ได้เช่าพื้นที่อาคารศูนย์แสดงสินค้าเกษตรภาคเหนือ ชั้น 2 เป็นที่ทำการของสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ 230 หมู่ 1 ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่